21.4.55

ประโยชน์ของถั่วลิสง

 

ข้อดีเป็นพิเศษของถั่วลิสง

ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางการบำรุงร่างกายสูงกล่าวกันที่ช่วยให้มีอายุยืน จนได้รับสมญานามว่า พืชอายุวัฒนะ ถั่วลิสงมีโปรตีนสูงประมาณ ๓๐% จะเป็นรองก็แต่ถั่วเหลืองเท่านั้น ปริมาณโปรตีนในถั่วลิสงสูงกว่าในข้าวสาลี ๑ เท่า สูงกว่าข้าว ๓ เท่า เมื่อเทียบกับไข่ไก่  นมวัว เนื้อสัตว์แล้ว ก็ไม่ด้อยกว่ากัน ในถั่วลิสงเป็นโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดชึมไปใช้ได้ง่าย  ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ถึง ๙๐% นอกจากนี้ ถั่วลิสงยังประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ๘ ชนิด ในอัตราที่เหมาะสม ถั่วลิสงยังมีไขมัน วิตามิน บี ๒ โคลีน (choline) กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เมธิโอนีน (Methionine) และวิตามิน แคลเชียม เหล็ก และธาตุอื่นๆ มีเส้นใย โปรตีน และสารแอนติออกซิแดนท์สูง มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำมาก จึงช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้า ๆ มีไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (MUFA) ค่อนข้างสูง น้ำมันชนิดนี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และอาจช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ได้

 


การบริโภคน้ำมันถั่วลิสงเป็นประจำ จะทำให้โคเลสเตอรอลในตับสลายตัวเป็นกรดน้ำดี (bileacid) ไม่เพียงแต่ลดโคเลสเตอรอลลงเท่านั้น ยังเป็นการป้องกันหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจของคนในวัยกลางวันและวัยสูงอายุได้
ถั่วลิสงเป็นพืชที่ทุกคนกินดี เด็ก ๆ กินแล้วเสริมความจำ ช่วยในการเจริญเติบโต ส่วนคนแก่ช่วยบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ยังนำถั่วลิสงมาปรุงเป็นตำรับยารักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย

- เมล็ด ใช้แห้งประมาณ 60-100 กรัม นำมาบดชงหรือต้มกินจะมีรสชุ่มหล่อลื่นปอดรักษาอาการไอแห้ง ๆ บำรุงกำลัง บำรุงน้ำนมในสตรีหลังคลอดที่มีน้ำนมน้อย สมานกระเพาะอาหาร

 

ตำรับยา
1. สำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ มีน้ำนมน้อย ใช้เมล็ดประมาณ 100 กรัม และขาหมูขาหน้าเอามาต้มกิน
2. อาการไอแห้ง ๆ เรื้อรัง และเด็กที่ชอบไอกรน ให้ใช้เมล็ดถั่วต้มใส่น้ำตาลกรวดหรือเกลือกิน
3. ขาเป็นเหน็บชาบ่อย ๆ ให้ใช้เมล็ดสดและต้องมีเยื่อหุ้มเมล็ดอยู่ประมาณ 100 กรัมและถั่วแดง ประมาณ 100 กรัม เปลือกผลของพุทราจีนประมาณ 100 กรัม ใช้ต้มกินหลาย ๆ ครั้ง

ข้อมูลทางคลีนิค

1. รักษาโรคตับอักเสบเป็นดีซ่านอย่างเฉียบพลัน
2. รักษาเยื้อตาอักเสบอย่างเฉียบพลันชนิดที่ติดต่อได้
3. ใช้ฉีดเป็นยาสลบ
4. รักษาอาการนอนละเมอผิดปรกติ
5. รักษาพยาธิไส้เดือนที่อุดตันในลำไส้
6. รักษาโรคบิดแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. น้ำมันถั่วลิสง กับการเกิดอาการโรคหลอดเลือดแข็งตัว (Arteriosclerosis)
2. น้ำมันถั่วลิสงที่ใช้เป็นยาฉีดจะมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคบางชนิดได้เล็กน้อย
3. ฤทธิ์อื่น ๆ ในเมล็ดถั่วลิสงจะมีสารที่ทำให้เป็นเม็ดเลือดแดงของคนที่ผานเอนไซม์นิวรามิเดส (Neuramidase) มาก่อนจะจับตัวกัน (Vegetable agglutinin) จัดเป็นสารที่ต่อต้านสารพ (Anti-P agglutinin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
4. ห้ามโลหิต รักษาอาการโลหิตออกง่ายในโรคฮีโมฟิลเลีย (Haemophilia)

 

ข้อดีที่ถั่วเหนือกว่าเนื้อได้แก่
ไขมันต่ำกว่า
ไขมันอิ่มตัวต่ำกว่า... เนื้อสัตว์ใหญ่มีไขมันอิ่มตัวแฝงอยู่สูงมาก แม้แต่เนื้อแดงก็มีไขมันแฝงมากกว่าที่คิด
ไขมันสัตว์มีสารพิษสะสมสูงกว่าไขมันจากพืช
ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง 45 กรัมขึ้นไปมีส่วนช่วยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหาร
โคเลสเตอรอลมีเฉพาะในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไม่มีในผลิตภัณฑ์จากพืช
ถั่วโดยเฉพาะถั่วเหลืองมีสารพฤกษเคมี หรือสารคุณค่าพืชผัก(ฟลาโวนอยด์)ที่ช่วยป้องกันความเสื่อม ลดความเสี่ยงจากมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

ข้อควรระวังในการรับประทานถั่วลิสงคือ ต้องเลือกเมล็ดถั่วที่ดี และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 เดือน เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา ซึ่งอาจมีสารก่อมะเร็ง (แอฟลาท็อกซิน)ปนเปื้อนได้

ทั้งนี้ ถั่วลิสง แม้จะมีประโยชน์ แต่สำหรับบางรายอาจเกิดปฏิกิริยาต่อโปรตีนในถั่วทำให้มีอาการแพ้ถั่ว มีอาการปวดท้อง อาเจียนไอ หอบ หายใจไม่สะดวก หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้หมดสติ เพราะฉะนั้นในรายที่มีอาหารแพ้ถั่ว จำเป็นต้องทราบข้อมูลและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของถั่วโดยเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

 

 

ที่มา

http://www.mindcyber.com/content/data/5/0058-1.html

http://lib.vit.src.ku.ac.th/tip/tip51/texttip/tip51_05.asp

http://www.n3k.in.th

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/87988?

หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย โดย คเนพร พิทักษ์พงค์

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ของ ศ.ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น