1.7.55

ความลับของสมอง ทำงานอย่างไรให้สมองมีความสุข

รู้ว่าควรทำอย่างไร แต่กลับทำไม่ได้ ปัญหาหลักของหลายๆคน จนบางทีถึงขั้นล้มเลิกความคิดที่จะทำสิ่งต่างๆเพียงเพราะทำไปไม่เท่าไรก็รู้สึกว่าไม่ดีเท่าที่ควร ไม่เป็นเหมือนที่วาดหวังไว้ ด้วยหนังสือเล่มนี้จะช่วยไขความลับของสมองว่าเพราะเหตุใด ถึงได้เป็นอย่างนั้น และเราควรจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมองให้ทำงานได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยแถมมีความสุขอีกตะหาก

ความลับของสมอง

เนื้อหาหนังสือไม่เครียดมากนัก มียกตัวอย่างสม่ำเสมอ อะไรที่เกี่ยวกับสมองก็จะมีภาพประกอบที่ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ ท้ายบทมีสรุปย่อให้อ่านทบทวนความจำ

เนื้อหาโดยสังเขป : สาเหตุที่เข้าใจกลไก แต่ทำเองไม่ได้
ท่านเคยมีประสบการณ์ที่ไม่สามารถสร้างเอาต์พุตได้อย่างที่ต้องการจนต้องเลิกทำ หรือมีกิจกรรมที่อยากทำแต่ยังทำไม่ได้อย่างนี้บ้างไหม ? 

“ผมลองเลียนแบบการทำงานของรุ่นพี่ แต่ไม่ได้ผลตามคาด ในที่สุดก็ต้องยอมแพ้” 
“ผมมีไอเดียดี ๆ ผุดขึ้นมาและอยากนำเสนอเป็นแผนงาน แต่ไม่สามารถเขียนออกมาเป็นแผนงานดี ๆ ได้ ถึงตอนนี้ไอเดียนั้นก็ยังหยุดอยู่แค่ในหัว”
“ฉันเริ่มเรียนโยคะเพื่อสุขภาพ แต่พอไม่สามารถทำท่าทางต่าง ๆ ได้อย่างลื่นไหล ในที่สุดก็ต้องหยุดไป”

ในบทนำผมได้เล่าให้ฟังไปแล้วว่า ผมเองก็เป็นนักศึกษาที่เขียนบทความไม่ได้ในตอนแรก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าแบบไหนดี หรือแบบไหนไม่ดี แต่เวลาลงมือทำจริง ๆ กลับทำไม่ได้อย่างที่ต้องการ เรื่องที่พูดนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับการเรียนหรือ
การทำงานเท่านั้น แต่สิ่งนี้ยังเกิดขึ้นกับการทำงานอดิเรก รวมถึงในกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย

แต่ก็น่าแปลกที่ในช่วงเวลาอย่างนั้น คนเรายังชอบวิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมหรือผลงานของคนอื่นว่า “อย่างนี้ดี” หรือ “อย่างนี้ใช้ไม่ได้” เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็น่าจะมาจากความรู้สึกอ่อนด้อยลึก ๆ ในใจที่ว่า “เราเองก็ยังทำไม่ได้” นั่นเอง แล้วทำไมเหตุการณ์ที่ “เราสามารถแยกแยะได้ว่าอย่างไหนดีอย่างไหนไม่ดี แต่เวลาทำเองกลับทำไม่ได้” จึงเกิดขึ้นสาเหตุที่เป็นที่ยอมรับกันประการหนึ่งคือ การทำงานของ “สมองส่วนที่ควบคุมการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส” กับ “สมองส่วนที่เรียนรู้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว” ทำงานไม่สมดุลกัน “สมองส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัส” คือบริเวณสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับข่าวสารความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การฟัง และการสัมผัส เป็นต้น แล้วนำข่าวสารนั้นมาทำการประมวลผลและ
แยกแยะต่อไป แต่ “สมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว” นั้นเป็นสมอง ส่วนที่ทำหน้าที่จัดการให้แขน ขา หรือปาก เคลื่อนไหวได้จริง ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือ โดยหลักแล้วสมองจะอาศัยส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัสในการรับอินพุตเข้ามา แล้วใช้ส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวในการสร้างเอาต์พุตออกไป โดยอินพุตที่กล่าวถึงในที่นี้หมายถึง “การเข้าใจ” และเอาต์พุตหมายถึง “การทำสิ่งนั้นออกมา” โดยสมองส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัส มีโอกาสที่จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้จากการชมภาพวาดที่วิจิตรงดงามตามหอศิลป์ จากการฟังดนตรีที่บรรเลงได้ไพเราะจับใจ หรือจากการชมภาพยนตร์ที่ทำให้เกิดความซาบซึ้งประทับใจ

สิ่งสำคัญในการฝึกสมองส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัสคือ เราต้องทำให้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นเรื่องดนตรีก็ต้องได้ฟังดนตรีสด หรือถ้าเป็นเรื่องกีฬาก็ต้องได้ดูการแข่งขันจริง เพราะวงจรการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสในสมองของคนเรา จะทำหน้าที่เป็นกุญแจสำคัญในการประเมินหรือตัดสินว่า “อะไรดี อะไรไม่ดี” ดังนั้นถ้าไม่ได้ฝึกฝนมาอย่างดีก็จะไม่มีทางมองออกว่าสิ่งไหนเป็น “ของแท้” หรือเป็นสิ่งที่ดีจริง ๆ ได้

สำหรับ “สมองส่วนที่เรียนรู้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว” นั้นมีหน้าที่สำคัญคือ การส่งข่าวสารเป็นเอาต์พุตออกมาผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้มือเขียนภาพ การเปล่งเสียงร้องเพลง การเขียนแสดงสิ่งที่คิดออกมาในรูปของประโยค เป็นต้น ซึ่งการแสดงเอาต์พุตเหล่านี้ออกมาจะทำได้ละเอียดถูกต้องแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าวงจรการเรียนรู้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวในสมองได้รับการ ฝึกฝนมามากน้อยเพียงใด ถ้าจะเปรียบเทียบกันแล้ว สมองส่วนที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสจะมีโอกาสพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพียงได้สัมผัสกับประสบการณ์ดี ๆ บางอย่าง ในขณะที่สมองส่วนที่เรียนรู้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวจะพัฒนาได้ด้วยวิธีเดียว คือการฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง

วงจรการเรียนรู้ของสมองสองส่วนนี้เปรียบเสมือนล้อทั้งสองข้างของรถยนต์ ถ้าสมองส่วนที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสพัฒนารุดหน้าไปมากกว่า ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า “เราไม่สามารถทำผลงานออกมาได้ดีพอที่จะยอมรับได้” แต่ถ้าสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวพัฒนารุดหน้ามากกว่า ก็จะกลายเป็นว่า “ผลงานที่ทำออกมายังไม่เข้าขั้น” นี่เป็นผลมาจากความไม่สมดุลของการทำงานของสมองสองส่วนนี้
สารบัญ : บทนำ
เทคนิคการทำงาน โดยใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติพิเศษของสมอง 

การหมุนวงรอบของอินพุตและเอาต์พุตของสมอง
01 สาเหตุที่เข้าใจกลไกแต่ทำเองไม่ได้
02 คนในยุคนี้มีแนวโน้มว่า สมองส่วนที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสจะพัฒนารุดหน้ากว่า
03 การสะสมเอาต์พุตขนาดเล็ก ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานดีขึ้น
04 เพื่อให้สมองมีการวิเคราะห์และจัดระเบียบ ต้องแสดงข่าวสารนั้นออกมาเป็นคำพูด
05 ควรสรุปผลงานแล้วนำเสนอออกมาให้เร็วที่สุด
06 สมองส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัส กับสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้เชื่อมต่อกันโดยตรง
07 ใช้ “กระจกเงาของตัวเอง” เพื่อตรวจสอบไม่ให้เป็นอย่าง “พระราชากับชุดล่องหน”
08 คุณภาพของงานขึ้นอยู่กับว่าเรา “มีกระจกเงาอย่างดี” อยู่หรือไม่
09 นำผลงานของตัวเองไปวางเทียบกับผลงาน ที่ใฝ่ฝันแล้วสังเกตความแตกต่าง

“เทคนิคการจัดระเบียบข่าวสารในสมอง”แบบโมงิ
10 เป้าหมายของงานไม่ใช่ “การจัดระเบียบข่าวสาร” แต่เป็น “การสร้างสรรค์โดยใช้ความรู้”
11 ต้องทิ้งวิธีจัดระเบียบข้อมูลแบบแอนะล็อก แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของมืออาชีพ
12 เชื่อมต่อเข้าสู่ข้อมูลที่เป็น “ของแท้” โดยตรงและไม่ต้องจดบันทึก
13 การใช้ภาษาอังกฤษได้คล่องเป็น “เทคนิคการจัดระเบียบข่าวสาร” ที่ดีที่สุด
14 เทคนิคการบริหารตารางเวลาที่ทำให้ความเร็วรอบการหมุนของสมองไม่ลดลง
15 เทคนิคการใช้ประโยชน์จาก PC เพื่อลดภาระวงจรความจำของสมอง
16 การทบทวนประเด็นสำคัญโดยการใช้บล็อก

การใช้ร่างกายขับเคลื่อนให้สมองทำงาน
17 การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นวิธีควบคุมสมองที่ดีที่สุด
18 วงจรการเรียนรู้ของสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
ไม่อาจฝึกฝนได้ด้วยการดูเพียงอย่างเดียว
19 การสร้างนิสัยในการทำงานโดยใช้ “วิธีเซ็ตอัพสมองใน 1 ชั่วโมง”
20 ในช่วงเวลาย่อย ๆ การใช้ปากกาหรือเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อขยับตัวทำงานจะให้ผลดี
21 การเปลี่ยนอิริยาบถง่าย ๆ ก็ช่วยให้ควบคุมสมาธิได้โดยไม่ตั้งใจ
22 การใช้ประโยชน์จาก “ปรากฏการณ์ดึงความสนใจ” ของสมอง เพื่อกระตุ้นสมาธิของคู่สนทนา
23 ขอแนะนำเทคนิคการทำงานแบบไทเกอร์ เจ็ต ชิน
24 การก่อความชุลมุนของ Google โดยการซื้อ YouTube
25 การหยั่งรู้ให้ถึง “ความรู้สึกในส่วนลึก” เพื่อค้นหารูปแบบการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพของตัวเอง
26 ผลงานที่ดีจะมีลักษณะของ “การขยายออก” และ “การลู่เข้า” อยู่ร่วมกัน และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

ความคิดสร้างสรรค์เกิดจาก “ประสบการณ์ × ความมุ่งมั่น + การเตรียมความพร้อม”
27 ยุคนี้เป็นยุคที่ “มูลค่าเพิ่มจากความรู้” เป็นเรื่องสำคัญที่สุด
28 ในญี่ปุ่นจะใช้วิธี “ให้ทุกคนร่วมกันสร้างไอเดียออกมา”
29 การจัดให้ฟรอนทัลโลบและเทมพอรัลโลบ ได้ปรึกษาหารือกันเรื่องไอเดียใหม่
30 “ความมุ่งมั่น” ที่สร้างขึ้นที่ฟรอนทัลโลบ ก็อาศัยพื้นฐานจากประสบการณ์
31 จริง ๆ แล้ว “ความมุ่งมั่นของผู้สูงอายุ” แข็งแกร่งที่สุด
32 การยกระดับความคิด เพื่อตรวจจับความคิดดี ๆ ที่แวบขึ้นมาโดยบังเอิญ
33 การทำงานแบบไม่รู้ตัว ทำให้ไอเดียเฉียบคมได้ง่ายขึ้น

การพบโดยบังเอิญทำให้ไอเดียเป็นรูปเป็นร่าง
34 ทุกครั้งที่ผมทำสิ่งที่อยากทำให้เป็นจริงได้ จะเกิดจากการพบโดยบังเอิญเสมอ
35 เงื่อนไข 3 ประการ ในการทำให้เกิด Serendipity
36 ใช้คอมมิตเมนต์ในการทำให้โอกาสเข้ามาหาตัว
37 การประสานประโยชน์ของ “สิ่งที่อยากทำ” กับ “สิ่งที่คนรอบข้างคาดหวัง”
38 “เสียงรบกวน” ที่มีประโยชน์ต่อสมองคืออะไร
39 เมื่อรู้สึกชื่นชมใครสักคน จะทำให้ความอยากเรียนรู้มีมากขึ้น
40 สมองคนเราจะซึมซับส่วนที่ดีของคนอื่นได้
41 การพบกับคนอื่น เท่ากับเป็นการพบ “ตัวเองในอุดมคติ”

สมองที่มองโลกในแง่ดี เป็นสิ่งดี
42 ประโยชน์ของ “ความเชื่อมั่นที่ไม่รู้ที่มา”
43 การมองโลกในแง่ดีเกิดจากอะมิกดาลา (amygdala) ที่อยู่ในสมอง
44 “การทำงานไปหัวเราะไป” จะมีประสิทธิผลมาก
45 การตั้งชื่อให้กับความรู้สึกที่เป็นลบ แล้วทำให้เป็นเรื่องที่ทำโดยรู้ตัว จากที่เคยทำโดยไม่รู้ตัว
46 การสลับโหมดของสมอง ทำให้ทนต่อแรงกดดันได้มากขึ้น

การเพิ่มไดนามิกเรนจ์
เป็นการเพิ่มความกว้างของชีวิต
47 คนเป็นมืออาชีพจริง จะมีไดนามิกเรนจ์ที่กว้าง
48 กฎเกณฑ์ในการทำงาน ต้องกำหนดขึ้นมาด้วยตัวเอง
49 การแสดงออกมาเป็นผลงานที่ดีนั้น ต้องการ “พลังรวมของความเป็นคน”
50 ต้องพยายามสัมผัส “ของจริง” ให้ได้มากที่สุด
51 ชีวิตเราจะสมบูรณ์ได้ ต้องอาศัยทั้งทฤษฎีการเกิด แผ่นดินจากไฟ และทฤษฎีการเกิดแผ่นดินจากน้ำ
52 ทำการแข่งขันในลักษณะทีมเยือนบ้าง จะทำให้สมองเติบโต

การทำงาน คือ การสร้างถนนไปยังที่ที่ไม่มีถนน
53 สิ่งที่เป็นอุดมคติที่สุด คือการสร้าง “ความต้องการ” ขึ้นมาเอง
54 การสะสมนวัตกรรมเล็ก ๆ ไปเรื่อย ๆ
55 อาบด้วยภาษาอังกฤษ และสะสมฉากต่าง ๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษไว้ในสมอง
56 การทำงานส่วนใหญ่ เป็น “การเรียนรู้แบบไม่มีครู”
57 การวิ่งในที่ที่ไม่มีถนน
58 งานคือ “passion” (ความหลงใหลและความยากลำบาก)

บทส่งท้าย
สมองของเราสามารถแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดกี่ครั้งก็ได้

 

ข้อมูลหนังสือ

ชื่อหนังสือ : ความลับของสมอง ทำงานอย่างไรให้สมองมีความสุข
ชื่อผู้แต่ง : Kenichiro MOGI
ชื่อผู้แปล : ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์
คำโปรย : ในชีวิตจริงของคนเรายังต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเรื่องของการทำงาน การพบปะผู้คน การเล่นดนตรีหรือกีฬาทุกอย่างที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่ายกายล้วนเป็นกิจกรรมทั้งสิ้น และอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมเหล่านี้ก็คือ “สมอง”... แล้วเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมบางครั้งถึงไม่สามารถทำกิจกรรมออกมาได้ดังที่ใจคิด หรือสิ่งที่เรียนรู้มากับสิ่งที่ทำเองจริง ๆ กลับได้ผลที่แตกต่างกันมาก หนังสือเล่มนี้จะตอบข้อสงสัยนี้ให้กระจ่าง
ISBN : 9789744434005
หมวดหนังสือ : หมวดทั่วไป
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
จำนวนหน้า : 232

ขอบคุณข้อมูลจาก วิชาการ.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น